สถาบันรหัสสากล (GS1 Thailand) เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ภายใต้การกำกับดูแลของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนออกเลขหมายบาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ในประเทศไทยและสปป.ลาว
บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ได้รับการยอมรับจากร้านสะดวกซื้อชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ถือเป็นการปฏิวัติภาคเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่
วันที่ 26 มิถุนายน มีการจัดตั้งองค์กร Uniform Code Council (UCC) เพื่อควบคุมดูแลการออกเลขหมายบาร์โค้ด UPC (Universal Product Code) โดยสินค้าชิ้นแรกที่ถูกสแกน ณ จุดชำระเงินในซุปเปอร์มาร์เก็ตคือ "หมากฝรั่ง"
จัดตั้งหน่วยงาน European Article Numbering (EAN) Association ซึ่งภายหลังควบรวมกับองค์กรอื่นและเปลี่ยนชื่อเป็น GS1 โดยเปิดสำนักงาน ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
เริ่มใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากลสำหรับสินค้าค้าส่ง โดยติดลงบนกล่องลูกฟูกด้านนอก
เริ่มใช้มาตรฐานสากล EDI (Electronic Data Interchange) ครั้งแรก ทำให้ระบบการดำเนินงานในซัพพลายเชนมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น
บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในระบบซัพพลายเชน
เริ่มใช้ GS1 DataBar ซึ่งเป็นบาร์โค้ดขนาดเล็กที่สามารถบรรจุข้อมูลได้มากขึ้น เหมาะสำหรับสินค้าเครื่องประดับ ผัก ผลไม้ และอาหารสด
GS1 มีสาขาครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
จัดตั้งคณะประชุม Global Standards Management Process (GSMP) เพื่อส่งเสริมและควบคุมการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1
จัดตั้งบริษัท EPCglobal, Inc. เพื่อพัฒนาระบบรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (EPC) รองรับการใช้งานเทคโนโลยี RFID
เริ่มใช้บาร์โค้ด GS1 DataMatrix ซึ่งเป็นบาร์โค้ด 2 มิติ และฐานข้อมูล GDSN (Global Data Synchronization Network)
องค์กร GS1 เกิดจากการควบรวมของ UCC และ EAN ปัจจุบันมีสาขากว่า 110 ประเทศทั่วโลก
GS1 พัฒนามาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลสินค้าผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ
GS1 ได้รับสิทธิ์เป็นผู้แทนในการออกเลขหมาย Unique Device Identifiers (UDIs) สำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (USFDA)
GS1 ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล
BBC ขนานนามบาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ว่าเป็น 1 ใน 50 สิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก
GS1 เริ่มให้บริการการออกใบรับรอง Legal Entity Identifiers (LEIs) สำหรับระบุบริษัทที่มีส่วนในธุรกรรมการเงิน
เกิดแพลตฟอร์ม GS1 Registry Platform (GRP) แหล่งข้อมูลที่เจ้าของแบรนด์สามารถแบ่งปันข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตน
GS1 Digital Link เชื่อมข้อมูลกับ QR Code ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเจ้าของสินค้าได้ เช่น เว็บไซต์ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ โปรโมชัน ส่วนผสม สูตรอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย
GS1 สนับสนุนให้อุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ประโยชน์จากการใช้บาร์โค้ดสองมิติ, QR code และ บาร์โค้ด GS1 Data Matrix ณ จุดขายค้าปลีกทั่วโลกภายในสิ้นปี ค.ศ. 2027
องค์การการค้าโลก ร่วมกับ World Economic Forum จัดทำรายงานเกี่ยวกับการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ในการระบุตำแหน่งบนสินค้าชนิดต่างๆ ว่า มีส่วนช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
องค์การการค้าโลก ร่วมกับ World Economic Forum จัดทำรายงานเกี่ยวกับการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ในการระบุตำแหน่งบนสินค้าชนิดต่างๆ ว่า มีส่วนช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
ครบรอบ 50 ปีของการใช้บาร์โค้ดทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 116 แห่ง ผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 พันล้านรายการที่มีบาร์โค้ดมารตฐาน GS1