ความเป็นมา

  • ค.ศ. 1973

     
    “บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1” เป็นที่ยอมรับของร้านสะดวกซื้อชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปรียบเสมือนการปฏิวัติภาคเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่
  • ค.ศ. 1974

     
    26 มิ.ย. มีการจัดตั้งองค์กร Uniform Code Council (UCC) ขึ้น มีหน้าที่ควบคุมดูแลการออกเลขหมายบาร์โค้ด UPC (Universal Product Code) โดยสินค้าชิ้นแรกที่ถูกสแกน ณ จุดชำระเงินในซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง คือ “หมากฝรั่ง”
  • ค.ศ. 1977

     
    มีการจัดตั้งหน่วยงาน European Article Numbering (EAN) Association (ซึ่งในภายหลังมีการควบรวมกับองค์กรอื่น และเปลี่ยนชื่อเป็น GS1) โดยได้เปิดสำนักงาน ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม
  • ค.ศ. 1983

     
    มีการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากลสำหรับสินค้าค้าส่ง โดยติดลงบนกล่องลูกฟูกด้านนอก
  • ค.ศ. 1989

     
    เริ่มใช้มาตรฐานสากล EDI (Electronic Data Interchange) ครั้งแรก ซึ่งทำให้ระบบการดำเนินงานในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมต่างๆ มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างลงตัวมากขึ้น
  • ค.ศ. 1995

     
    เริ่มใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ในกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องมือที่ใช้ในทางการแพทย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่เพิ่มความปลอดภัย และขับเคลื่อนการดำเนินงานในระบบซัพพลายเชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง สามารถระบุข้อมูลและรายละเอียดของเครื่องมือ และตรวจสอบย้อนกลับได้
  • ค.ศ. 1999

     
    เริ่มใช้ GS1 DataBar เป็นครั้งแรก โดยบาร์โค้ดประเภทนี้มีขนาดเล็ก และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าบาร์โค้ดปกติ ใช้กับสินค้าเครื่องประดับ ผัก ผลไม้ และอาหารสด
  • ค.ศ. 2000

     

    GS1 มีสาขาครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลก

  • ค.ศ. 2002

     
    มีการจัดตั้งคณะประชุม Global Standards Management Process (GSMP) ขึ้น เพื่อส่งเสริมการใช้งาน ควบคุม และกำกับดูแลเกี่ยวกับการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 เพื่ออำนวยความสะดวกให้การดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ค.ศ. 2003

     
    มีการจัดตั้ง บริษัท EPC global, Inc. เพื่อพัฒนาระบบรหัส EPC (Electronic Product Code) หรือเลขรหัสสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ระบุวัตถุ หน่วยบรรจุ สถานที่ รองรับการใช้งานเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) โดยสามารถติดตามและบันทึกข้อมูลของสินค้าหรือสินทรัพย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
  • ค.ศ. 2004

     
    เริ่มใช้บาร์โค้ด GS1 DataMatrix ซึ่งเป็นบาร์โค้ด 2 มิติ และเริ่มใช้ฐานข้อมูล GDSN (Global Data Synchronization Network) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลกลางที่ผู้ผลิตสามารถระบุข้อมูลและรายละเอียดของสินค้า โดยผู้บริโภคก็สามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้เช่นกัน
  • ค.ศ. 2005

     
    องค์กร GS1 เกิดขึ้นจากการควบรวมของ 2 องค์กร คือ องค์กร Uniform Code Council (UPC: Universal Product Code) ควบคุมดูแลการใช้งานบาร์โค้ดในโซนอเมริกาและแคนาดา และองค์กร European Article Number (EAN: European Article Numbering System) ควบคุมดูแลการใช้งานบาร์โค้ดในโซนยุโรปและเอเชีย ปัจจุบัน GS1 มีสาขากว่า 110 ประเทศทั่วโลก
  • ค.ศ. 2006

     
    GS1 ออกมาตรฐานสากล traceability ฉบับแรก ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานในระบบซัพพลายเชน เป็นมาตรฐานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นมาตรฐานการทำงานร่วมกัน
  • ค.ศ. 2010

     
    GS1 ได้พัฒนามาตรฐานสากล เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือรายละเอียดของสินค้าได้ผ่านเครื่องมือสื่อสาร เช่น โทรศัพท์มือถือ 
  • ค.ศ. 2013

     
    GS1 ได้รับสิทธิ์ในการเป็นผู้แทนแต่เพียงผู้เดียวในการออกเลขหมาย Unique Identifiers (UDIs) ซึ่งเป็นรหัสที่ใช้ระบุข้อมูลและรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์ จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (USFDA)
  • ค.ศ. 2014

     
    GS1 ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคดิจิทัล ผ่านช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึง การให้คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับมาตรฐานที่เป็นดิจิทัลฉบับแรก
  • ค.ศ. 2016

     

    BBC ขนานนามบาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ว่าเป็น 1 ใน 50 สิ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก

  • ค.ศ. 2018

     
    GS1 เริ่มให้บริการการออกใบรับรอง Legal Entity Identifiers (LEIs) ซึ่งเป็นรหัสสำหรับระบุบริษัทที่มีส่วนในธุรกรรมการเงิน
  • ค.ศ. 2019

     
    เกิดแพลตฟอร์ม GRP (GS1 Registry Platform) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่เจ้าของแบรนด์สามารถแบ่งปันข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตน ซึ่งร้านค้าปลีกและตลาดกลาง สามารถตรวจสอบตัวตนของผลิตภัณฑ์จัดจำหน่ายที่เชื่อถือได้ มีการระบุ GS1 Company Prefixes (GCPs), GTINs และระบุ GS1 Global Location Numbers (GLNs) ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดย GS1
  • ค.ศ. 2020

     
    GS1 Digital Link เชื่อมข้อมูลกับ QR Code ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเจ้าของสินค้าได้ เช่น เว็บไซต์ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ โปรโมชัน ส่วนผสม สูตรอาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย
  • ค.ศ. 2021

     
    GS1 สนับสนุนให้อุตสาหกรรมที่ต้องการใช้ประโยชน์จากการใช้บาร์โค้ดสองมิติ, QR code และ บาร์โค้ด GS1 Data Matrix ณ จุดขายค้าปลีกทั่วโลกภายในสิ้นปี ค.ศ. 2027
  • ค.ศ. 2022

     
    องค์การการค้าโลก ร่วมกับ World Economic Forum จัดทำรายงานเกี่ยวกับการใช้บาร์โค้ดมาตรฐานสากล GS1 ในการระบุตำแหน่งบนสินค้าชนิดต่างๆ ว่า มีส่วนช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก
  • ค.ศ. 2023

     
    ครบรอบ 50 ปีของการใช้บาร์โค้ดทั่วโลก ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 116 แห่ง ผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 พันล้านรายการที่มีบาร์โค้ดมารตฐาน GS1